วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Cloud Computingคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจในปัจจุบัน

 Cloud Computing คืออะไร

 คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น

Cloud หรือบางคนก็บอกว่า Cloud Computing มันคืออะไร ค้นในเน็ตเจอคำแปลต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่บอกว่า การประมวลผลบนก้อนเมฆ… ถ้าสำหรับแบบที่ผมคิดนะ ผมว่าก็คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรานี่แหละ แต่แทนที่จะต้องมาประมวลผล หรือทำงานแบบเดิมคือทำบน PC แบบที่เราเคยใช้ๆกันอยู่มันจะย้ายไปทำงานผ่านพวก WEB Browser บนโลกอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เดิม เราใช้ Microsoft Word, Excel, Power Point โดยเราต้องเปิด PC แล้วรอมัน Windows มันบู๊ต แล้วเราก็เลือกไอคอน โปรแกรม แล้วก็คลิ๊กเปิด แล้วก็ใช้งาน

Cloud Computing

แต่ถ้าเป็น Cloud Computing หรือ Cloud Service คือเราเข้าอินเตอร์เน็ตให้ได้ และเราก็จะใช้งานโปรแกรมอะไรก็ตามแต่ ผู้ให้บริการบนโลกอินเตอร์เน็ต เขาก็จะเตรียมไว้ให้เราแล้ว (แต่ถ้าเข้าอินเตอรเน็ตไม่ได้…ก็เกิดเรื่องกันละทีนี้) เอาให้ง่ายเข้าไปอีก ลองคิดถึงแต่ก่อนเราอาจจะต้องใช้ Outlook หรือ Lotus Note ในการทำงานเพื่อเปิดเครือ่งเพื่อรับเมล์ เดี๋ยวนี้เราจะเห็น มี Google, Hotmail หรือ Yahoo ให้เราสามารถเช็คเมล์ได้ โดยเฉพาะ Google พี่ท่านกะล็อกทุกอย่าง หรือครองโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้ เดี๋ยวถ้าเรามี Domain แล้วไม่ต้องการมี Server หรือตั้งระบบ Mail Server เราสามารถไปเช่าใช้บริการผูกเมล์เราเข้ากับระบบ Gmail ของ Google ได้อีกต่างหาก

Cloud Computing

อีกหน่อย ในความคิดผมนะ เครื่อง PC หรือ Notebook ต่อไปเปิดมา อาจจะไม่ต้องเปิดผ่าน Windows เลยก็เป็นไปได้ คือเปิดขึ้นมากลายเป็น WEB OS เลย ก็คือแบบเปิดปุ๊บ เข้าอินเตอร์เน็ตทันที อยากใช้โปรแกรมอะไรก็แค่ เรียก หรือเปิดใช้บริการเอา อาจจะมีทั้งแบบฟรี หรือเสียเงินก็ว่ากันไป และแนวโน้มก็ค่อนข้างจะไปทางนั้นแหละผมว่า เพราะเดี๋ยวนี้เราเริ่มมีอุปกรณ์พวก tablet หรือ มือถือ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตได้แบบทันทีที่เปิดเครื่อง และแนวโน้มของคนที่จะใช้ tablet นั้น ผมขอเดาว่าอีกไม่นาน 1-2 ปีนี้ จะมีปริมาณที่มากกว่า PC หรือ Notebook กว่าในอดีตมาก โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ที่จะโตไวมาก เพราะมันชัดแล้วว่า เทคโนโลยีจะไวขึ้นเรื่อยๆ ขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และราคาก็จะถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกเพศ ทุกวัย

อันนี้ก็คือวีดีโอที่พอดีไปค้นเจอมา โดยรายงานพิเศษจากรายการแบไต๋ไฮเทคที่สามารถจะอธิบายเรื่องของคำศัพท์แห่งยุค Cloud Computing ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างชัดเจน ใครที่สนใจเทคโนโลยี server สมัยใหม่ต้องดู อธิบายแบบไทยๆ ให้ดูเข้าใจง่าย (ขอบคุณ วีดีโอจากรายการ แบไต๋ไฮเทค ด้วยนะครับ)

ประโยชน์ของ cloud computing

-มีความคล่องตัว ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลจาก Server ได้ตามต้องการ มีความยืดหยุ่น สามารถขยายหรือลดโครงสร้างพื้นฐานได้สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง

-Reduction in costs: มีต้นทุนที่ลดลงเนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Server ขนาดใหญ่ด้วยตนเอง  ลดภาระต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ประมวลผลขนาดใหญ่

-Freedom of Location :  มีอิสระจากอุปกรณ์ และสถานที่  เพราะผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

-Scalability and speed :  การขยายตัวเป็นแบบ (Scalability)  สูง สามารถเข้าถึงแพลทฟอร์มที่หลากหลายและความสามารถในการทำงานร่วมกับแพลทฟอร์มที่ยึดหยุ่นและมีศักยภาพด้วยโครงสร้างที่หลากหลาย

-มีความไว้วางใจ (Reliability)  สูงขึ้น

-มีความปลอดภัย (Security) สูง เนื่องจากทุกๆ โปรแกรมและไฟล์ทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ใน Supercomputer ส่วนกลางที่มีขนาดใหญ่หรือจัดเก็บอยู่ใน Network ความเร็วสูง

-มีความยั่งยืน (Sustainability)  ซึ่งได้จากการใช้ทรัพยากรที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ

-Reduce run time and response time : เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของโปรแกรมประยุกต์  ทำให้โปรแกรมที่มีการคำนวณและประมวลผลที่ยุ่งยากและซับซ้อนสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น

-Enabling Innovation: ได้รับบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เสมอ

-Ease of Use:  ใช้งานง่าย โดยเปรียบเหมือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

cloud  computing
   
Cloud Computingเป็นเหมือนจินตนาการหนึ่งของโลก IT เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อิสระ (ISV), บริษัทที่กำลังพึ่งเริ่มต้น หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย ดูเหมือนว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นของผู้ที่สนใจ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางด้าน ITโดยใช้วิธีการของ Cloud Computing
สิ่งที่น่าแปลกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าจะถามถึงคำอธิบายที่ชัดเจนของ Cloud Computing คงหาได้ยาก เพราะถ้าคุณลองไปถามคน 100 คน อาจจะได้คำตอบมา 150 คำตอบ (ผมเชื่อว่า บางคนต้องพยายามตอบสองครั้ง) ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึงคำอธิบายทั่วไป ที่คุณสามารถตอบได้ชัดเจนมากขึ้น
The Cloud หรือ Internet(ถ้าคุณจะหมายความว่าอย่างนั้นก็ยังได้) ซึ่งมีมานานกว่า 25 ปี ที่ผ่านมา ถ้างั้น Cloud ก็มีมาตั้งนานแล้วใช่ไหม?มีหลักฐานหนึ่งที่ยืนยัน ว่า Server แรกบน Internet มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล สำหรับข้อมูลและแอพพลิเคชั่น ที่มาการแชร์ใช้ร่วมกันทั่วโลก อาจจะเป็นเรื่องง่ายในการใช้งาน Cloud Computing จากที่ใดก็ได้ โดยปราศจากข้อจำกัดต่างๆ ในปัจจุบัน ความชัดเจนเริ่มมีมากขึ้นในการให้บริการทางด้านข้อมูล ,แอพพลิเคชั่น และการคอมพิวติ้งมากขึ้น ซึ่งทำให้ข้อจำกัดต่างๆได้หายไป เพราะเริ่มจะเห็นถึงความแตกต่างกันมากขึ้น...จริงหรือ?
ความแตกต่างที่เห็นเด่นชัด นั่นก็คือเราใช้เทคโนโลยีที่ใหม่ แต่ยืนบนพื้นฐานของคอนเซปต์เดิม Cloud Computing เป็นเหมือนการพัฒนา มากกว่าการปฏิวัติ ด้วยราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งคุณจ่ายเท่าที่ใช้เป็นพอ (Utility Model)
Utility Computing หมายถึงการใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เช่น Infrastructure, Storage, Core Services แบบเดียวกับที่เราใช้ไฟฟ้า และประปา ซึ่งมีมาตรวัด ที่ทำให้คุณจ่ายเท่าที่ใช้ นั่นก็คือ Utility หรือ สาธารณูปโภคทำให้ทำลายความจำเป็นที่ต้องซื้อ, รัน, และบำรุงรักษา Hardware, Server และ Application ต่างๆ และรวมถึงการพัฒนา Core Services เช่น การทำ Billing หรือ การให้บริการด้าน Security เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ดังนี้
สมมติมี ISV ที่พัฒนาระบบบน Web-basedต้องการสร้างคอมโพเนนต์ที่สามารถพร้อมใช้งานบน Facebook หรือ MySpace ซึ่งพวกเขาต้องพบกับปัญหาที่จะเจอมากมาย รวมถึงเขาต้องพยายามหารูปแบบที่สามารถยอมรับได้ อีกทั้ง ISV ส่วนใหญ่มีเงินทุนที่จำกัด และเขาต้องทุ่มเงินไปกับการพัฒนาและทำการซัพพอร์ตงานซอฟต์แวร์ของตนเองเสียเป็นส่วนมาก
ซึ่งความไม่สมดุลนี้ ทำให้มีการผลิตซอฟต์แวร์ที่ไม่มีคุณภาพบนแพลตฟอร์มที่ดี หรือซอฟต์แวร์ชั้นเยี่ยมแต่ยากต่อการเข้าถึงของแพลตฟอร์มนั้นๆ เหตุการณ์แบบนี้อาจจะขัดต่อทางที่จะประสบความสำเร็จ ทำให้การใช้งานแบบ Utility-based Cloud ช่วยคุณได้ แพลตฟอร์ม Cloud Utility สามารถเป็นทางเลือกที่ต้นทุนต่ำ ที่สามารถเพียงพอต่อความต้องการของซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดย ISV ซึ่งจะทำให้เขาสามารถใช้งานร่วมกับทรัพยากรที่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเช่นกัน
Cloud Service เป็นบริการที่พิเศษ คล้ายกับสาธารณูปโภค หากซอฟต์แวร์ที่ใช้งานผิดพลาด ISV เพียงแค่ปิดบริการ และหยุดการจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์นั้นๆ เป็นพอ
รูปแบบ Utility Model ยังช่วยให้องค์กรสามารถชดเชย ต้นทุนส่วนตัวในการใช้งานดาต้าเซนเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้คุณใช้งานทรัพยากรได้มากขึ้นในเวลาที่ต้องการประมวลผลสูงสุด (Peak Load) ซึ่งเรียกว่า "Cloud Bursting"
โดยแต่เดิมนั้น การจะจัดการ Peak Load ได้นั้น ทางองค์กรจำเป็นต้องออกแบบให้ดาต้าเซนเตอร์รองรับการประมวลผลเพื่อรองรับ Peak Load ที่เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่าเวลาส่วนใหญ่ที่ใช้งานดาต้าเซนเตอร์ไม่ได้ใช้งานถึง Peak Load ทุกครั้ง หากใช้ Cloud Bursting องค์กรสามารถสร้างดาต้าเซนเตอร์ให้รองรับ Peak Load เฉพาะวัน หรือช่วงของวันที่มีการประมวลผลสูงๆได้ จากการใช้งานปกติทั่วไป โดยที่ผู้ให้บริการ Cloud จะเป็นคนจัดการ Peak Load เหล่านั้นเอง
Utility Computingเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มเสมือน (Virtualized Platform) ซึ่งเกือบจะทำให้ไม่มีข้อจำกัด เรื่องของพื้นที่การเก็บข้อมูล และ/หรือ ทรัพยากรที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการใช้งานในดาต้าเซนเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ วิวัฒนาการในปัจจุบันได้ทำให้คำว่า Utility Computing มีความชัดเจนมากขึ้น เพราะมีบริการที่เกี่ยวข้องมากขึ้น 
แล้ว Application ทั้งหมดควรย้ายไปที่ Cloud จริงหรือไม่? แล้วเราควรพัฒนา Application ให้เชื่อมต่อกับ Cloud ได้อย่างไร? หรือว่าเราต้องพัฒนา Application ใหม่บน Cloud? ตกลงแล้ว Cloud มันเป็นอะไรกันแน่? นี่คือส่วนหนึ่งของคำถาม เมื่อคุณเริ่มนึกถึงคำว่า CloudServices
จริงๆ แล้วบาง Application สามารถเชื่อมต่อ Cloud ได้ หรือพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Cloud ได้ หรือแม้กระทั่งสามารถที่จะโฮสต์บน Cloud Infrastructure ได้ ขณะที่บาง Application ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Cloud ได้เลย ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าจะตอบให้เป็นคำตอบมาตรฐาน ผมคงตอบว่า "ต้องขึ้นอยู่กับงาน" ซึ่งบาง Application อาจจำเป็นต้องมีการประมวลผลบน Cloud บางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณว่าต้องการส่วนใดบ้าง
ในบทความนี้จะช่วยคุณในการไกด์ไอเดีย ถึงคุณลักษณะพื้นฐานของ Application ที่เหมาะสมในการเชื่อมต่อกับ Cloud และคุณสมบัติพื้นฐานของ Cloud รวมถึงข้อควรพิจารณา ที่จะช่วยคุณในการตัดสินใจรัน Application ของคุณบน Cloud Computing

Figure 1: Attributes map ของ Application
ทุกๆ Application จะถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในการทำงานบางอย่าง เช่น ระบบบริหารการสั่งซื้อสินค้า, ระบบจองตั๋วเครื่องบิน, ระบบ CRM หรืออื่นๆ การที่จะอิมพลีเมนต์ฟังก์ชั่นของระบบจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับแอดทริบิวต์ที่ใช้งานในปัจจุบัน เช่น ระบบบริหารการสั่งซื้อสินค้า ทรานแซกชั่นในเรื่องการสั่งสินค้า หรือการโอนเงินเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับ Application นั้นๆ ถ้าเป็น Cloud Storage อาจจะไม่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลที่มีความเสี่ยง ดังนั้นในการกำหนดคุณลักษณะที่สำคัญของโปรแกรมหรือระบบย่อยของระบบขนาดใหญ่ จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการกำหนดให้โปรแกรมนั้นทำงานร่วมกับ Cloud
จาก Figure 1 ได้แสดงถึงคุณสมบัติที่สำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Application (ในกรอบสีฟ้า) ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ Application ของคุณไม่จำเป็นต้องมีทั้งหมด แต่คุณก็ควรระบุได้ว่าคุณสมบัตินั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของ Application ของคุณ ซึ่งถ้าคุณสามารถทำการระบุได้ จะทำให้ง่ายต่อการจัดการ วางแผนบน Cloud จากที่ผมเลือกคือ Data Management ยกตัวอย่างเช่น ให้แสดงถึงรายละเอียดของแอดทริบิวต์ในขั้นที่สอง โดยเป็นการบอกความละเอียดมากขึ้นสำหรับแอดทริบิวต์ที่มีความสำคัญสูง หรือทำการเลือกการเข้าถึงว่าคุณต้องการเข้าถึงแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือทั้งสองแบบในการเข้าถึง Data Source ของคุณ
ยกตัวอย่างเช่น Data Access คุณสามารถเริ่มต้นเพื่อดูว่าคุณสมบัตินี้มีผลต่อการตัดสินใจของคุณหรือไม่ในการใช้บริการ Cloud Storage จาก Cloud Provider หรือไม่ หากข้อมูลของคุณจำเป็นต้องมีการ Online ตลอดเวลา การเลือกใช้บริการ Cloud เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่หากข้อมูลของคุณมีการใช้งานเป็นแบบ Offline ปัจจัยนี้อาจจะไม่เหมาะสมต่อการใช้บริการ Cloud และถ้าหากคุณตัดสินใจได้ว่าคุณจำเป็นต้องใช้ทั้งสองแบบ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา Application เพื่อทำการซิงโครไนซ์ข้อมูลระหว่าง Application และ Cloud จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาก่อน
หากต้องการเลือกที่จะรองรับได้ทั้ง Offline และ Online สำหรับผู้ใช้งาน อาจจำเป็นต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปในโปรเจ็คด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ควรจะมองถึงคุณสมบัติ High-Scalability เป็นสำคัญเพราะเป็นข้อดีของการใช้งาน Cloud ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายดายกว่าแบบ Offline และชดเชยค่าใช้จ่ายของคุณในส่วนนี้ สามารถอ่านรายละเอียด ได้ใน ตอนที่ 3จะแสดงตัวอย่างของแอดทริบิวต์ที่เหมาะสมต่อ Application
หลังจากที่คุณสามารถระบุถึงคุณสมบัติ Application ที่สำคัญของคุณแล้ว คุณสามารถที่จะเริ่มฝึกการใช้งาน Cloud ได้ทันที (ในการใช้งานกับผู้ให้บริการ Cloud) แอดทริบิวต์ของ Cloud แบ่งออกได้เป็นหลากหลายประเภทขึ้นกับกระบวนการดำเนินงานของคุณ ผมได้ยกตัวอย่างการแบ่งประเภท เป็นดังนี้ Cloud Infrastructure, Cloud Storage, Cloud Platform, Cloud Applications และ Core Cloud Services
คุณสามารถที่จะวางแผนคุณสมบัติของ Application คุณให้เหมาะสมกับการจัดประเภทที่ผมได้กล่าวในข้างต้นมากกว่าหนึ่งประเภทก็ได้ ซึ่งแสดงใน Figure 2 

Figure 2: Mapping application attributes to cloud attributes
โดยทั่วไปคือ โครงสร้างพื้นฐานหรือเวอร์ชวลเซิร์ฟเวอร์ (Virtual Server) บน Cloud ของผู้ให้บริการ โดยที่โครงสร้างพื้นฐานนี้จะมอบขุมพลังสำหรับการประมวลผลและ Application ที่มีขนาดใหญ่ สำหรับ Application ที่มีขนาดใหญ่ลองนึกถึง Facebook หรือ MySpace หากนึกถึงการประมวลที่มีขนาดใหญ่ให้ถึงเครื่องคลัสเตอร์ที่ High-Performance ไว้สำหรับในการคิดคำนวณเชิงวิศวกรรมยากๆ เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือ อากาศยาน เป็นต้น
แกนหลักของโครงสร้าง Cloud คือ เวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เวอร์ชวลเซิร์ฟเวอร์ในดาต้าเซนเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการลงทุนและการบำรุงรักษาที่สูงในส่วนของฮาร์ดแวร์ แต่ก็มีข้อดีคือเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน แพลตฟอร์มเวอร์ชวลไลเซชั่น สามารถแบ่งเป็น Full-Virtualization กับ Para-Virtualization สามารถศึกษารายละเอียดได้ในตอนที่ 4
เป็นการบันทึกข้อมูลแล้วเก็บไว้ภายในเมฆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการที่รวมถึงฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล เช่น การจัดเก็บไฟล์ดิจิตอลมีเดีย, การให้บริการซิงโครไนซ์ของข้อมูล หรือ Network Attached Storage(NAS) โดยที่การให้บริการด้านข้อมูลจะเป็นการจ่ายเท่ากับที่คุณใช้งาน (pay-as-you-go) ซึ่งในปัจจุบันเป็นการจ่ายแบบ pay-per-GB ทั้งข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลที่มีการถ่ายโอน
Cloud Storage มีประโยชน์มากมาย เช่น คุณสามารถจัดเก็บข้อมูลและเรียกใช้ข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจากทุกๆที่ และทุกๆเวลา การให้บริการ Data Storage ทั้งเร็วและมีราคาไม่แพง อีกทั้งยังมีขนาดไม่จำกัด อย่างไรก็ตามความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะการให้บริการที่ดีเยี่ยมอาจจะมีการผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การให้ความช่วยเหลือจึงเป็นประเด็นที่สำคัญในการใช้งานระบบ Data Storage ปัญหาที่สำคัญคือจะต้องสามารถระบุที่จัดเก็บข้อมูลขององค์กรที่ใช้บริการได้
จริงๆ แล้ว คือ ความสามารถในการสร้าง, ทดสอบ, ดีพลอย์, รัน และจัดการ Application บน CloudPlatform เป็นทางเลือกอีกประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ช่วยให้คุณสามารถทำงานเฉพาะบนโลก Online อย่างเดียว, Offline อย่างเดียว หรือทั้งสอง ขณะที่เครื่องมือในการทดสอบ Application อาจจะต้องขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง
กฏทั่วไปของ Cloud Platform คือ ค่าใช้จ่ายที่ต่ำ, Highly-Scalable ทั้งโฮสติ้งและสภาพแวดล้อมในการพัฒนาบนเว็บเบส และมีความเป็นไปได้ที่ Cloud Platform จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการทำ Web Hosting ที่มีความ Scalability และ Availability มากกว่าโฮสติ้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีและข้อเสียในทางเทคเทคโนโลยีได้ ซึ่งข้อเสียก็คือ หากมีการพัฒนาบน Cloud ของที่ใดที่หนึ่ง หากจะทำงานย้ายข้ามผู้ให้บริการอาจจะเป็นการยากมากกว่าการใช้โฮสติ้งแบบปัจจุบัน
สามารถใช้งานบางส่วนหรือทั้งหมดบน Cloud ได้ หรือแม้กระทั่งอิมพลีเมนต์ฟังก์ชั่นหลักบน Cloud ก็เป็นได้ สถาปัตยกรรมของ Cloud Application จะแตกต่างจาก Application เดิมๆ เช่น การอิมพลีเมนต์ Cloud Application อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดที่แตกต่างจากเดิมออกไป
Cloud Application จะกำจัดการ Install และ Run เหมือน Application ทั่วๆไป อีกทั้งยังช่วยลดในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์, ดีพลอย์เมนต์, การจัดการ และการช่วยเหลือ ซึ่งจากที่ได้กล่าวข้างต้น เป็นคุณสมบัติของ Software-as a Service (SaaS)
ทางเลือกนี้ใช้โมเดลแบบ Software + Services เป็นการผสมผสานระหว่างการพัฒนา Application แบบเดิมและการอิมพลีเมนต์แบบ SaaSโดยที่ Application แบบ S+S จะเป็นการสร้าง Application แบบ Rich-Client Application ซึ่งจะเป็นต้องมีการติดตั้งลงบนเครื่องของผู้ใช้งาน ที่จะเป็นอินเตอร์เฟสให้เชื่อมต่อสู่การให้บริการภายนอก S+S สามารถที่จะทำการโต้ตอบ Application แบบ Offline ก็ได้ หรือทำการ Sync ข้อมูลในภายหลังเหมือนมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อก็สามารถทำได้ 
เป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุน Cloud-Based Solution เช่น Identity Management (ระบบการจัดการตัวตน),Service-to-Service Integration, Mapping, ระบบ Billing/Payment, Search, Messaging, Business Process Management, Workflow และอื่นๆ Core Cloud Services สามารถที่จะทำงานเพียงลำพัง หรือทำงานผ่านการทำงานร่วมกันแบบระบบต่อระบบ
วิวัฒนาการของ Cloud Service เป็นการเลียนแบบอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ภายใต้การบริการต่างๆเช่น ระบบ Business Support (BSS) หรือ ระบบ Operational Support (OSS)
การบริการประเภท BSS เป็นการจัดการที่มีการโต้ตอบกันระหว่างลูกค้า เช่น 
  • การสั่งซื้อ
  • กระบวนการออกบิล
  • การเก็บค่าใช้บริการ การบริการประเภท OSS เป็นการบริการด้วยตนเองและการรับผิดชอบต่องานนั้นๆ เช่น
    • การตรวจสอบการให้บริการ
    • การให้บริการสำรอง
    • การให้บริการในการตั้งค่าคอนฟิค

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี DLNA คืออะไร

DLNA มาจากคำว่า Digital Living Network Alliance  ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" โดยจะใช้งานได้นั้นอุปกรณ์จะต้องมีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่เพื่อระบุว่าสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้
เทคโนโลยี DLNA  นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY นี้เอง  ปัจจุบันนี้มีสมาชิก  245 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น  ACCESS, AT&T Labs, Awox, Broadcom, Cisco Systems, Comcast, DIRECTV, Dolby Laboratories, Ericsson, Hewlett-Packard, Huawei, Intel, LG Electronics, Microsoft, Motorola, Nokia, Panasonic, Promise Technology, Qualcomm, Samsung Electronics, Sharp Corporation, Sony Electronics, Technicolor, and Verizon.และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง Samsung  ที่ใช้ชื่อว่า  Allshare  และ LG ก็ใช้อีกชื่อคือ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้

ประโยชน์ ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้ แต่ถ้าเราจะได้ใช้เทคโนโลยี DLNA …smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ  คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet  หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง  Wi-Fi เดียวกันกับทีวีด้วย